เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 10 สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “น้องหญิง ท่าน
อย่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่า
แยกกันอยู่ ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้
มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีอยู่ใน
สงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นเลย ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้น
ด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่าน
อ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม
มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิด
โทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม
สรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณี
ทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ภิกษุณีนั้นอัน
ภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ 3 ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอ
กำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ 3 ครั้งสละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้า
ไม่สละ แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่ายาวตติยกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[729] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่
คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์
อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีอยู่
ในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไร ๆ ภิกษุณีเหล่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :70 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 10 สิกขาบทวิภังค์
คำว่า สงฆ์ ... ว่ากล่าวพวกท่าน ... ด้วยความดูหมิ่น ได้แก่ ด้วยความดูถูก
คำว่า เหยียดหยาม ได้แก่ ความหยาบคาย
คำว่า ด้วยความไม่พอใจ ได้แก่ ด้วยความโกรธเคือง
คำว่า ด้วยการข่มขู่ ได้แก่ ด้วยการกำราบ
คำว่า เพราะพวกท่านอ่อนแอ คือ เพราะความไม่มีพวก
สงฆ์ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติ
เลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ปกปิดโทษของกันและกัน ท่านทั้งหลายจงแยกกันอยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยก
กันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น”
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ชอบพูดเช่นนั้น
คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุณีพวกอื่น
ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านอย่าพูด
อย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกัน ฯลฯ ท่านทั้งหลายจงแยกกัน
อยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลาย” พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายรู้แต่ไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงนำมาท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า
ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงคลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่
ฯลฯ พวกท่านจงแยกกันอยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลาย
เท่านั้น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3
ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึง
สวดสมนุภาสน์

วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :71 }